ครูกับติวเตอร์ต่างกันอย่างไร


ช่วงปิดภาคเรียนเด็กๆ จะมีกิจกรรมหลักคือเรียนพิเศษซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับประเด็นความรู้มาแล้วอย่างหลากหลายและมีกลยุทธ์ เปิดภาคเรียนเราก็มาต่อเติมกระบวนการและคุณธรรมและจริยธรรมกันในห้องเรียน

       วันนี้ขณะนั่งดาวน์โหลดการสาธิตการทดลองทางเคมีที่ไม่สามารถทดลองในห้องปฏิบัติการของโรงเรียนได้เพราะประเมินแล้วมีความเสี่ยงสูงทำให้คิดย้อนกลับยังวันที่ตามนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปฟังติวเตอร์ชื่อดังมาสอนติวเข้มโค้งสุดท้ายก่อนสอบซึ่งเป็นโครงการประจำปีของงานแนะแนว  ครูนกอยากเรียนรู้เคมีจากมุมของติวเตอร์ ติวเตอร์สอนได้สนุก และเรียกเสียงเฮจากเด็กๆ ได้อย่างมาก ศัพท์วัยรุ่นทันสมัยมากสอดรับความสนใจของเด็กๆ  ครูนกถามตนเองว่า เราเป็นติวเตอร์ได้หรือไม่  คงเป็นได้แบบลูกครึ่งไม่สามารถถอดความเป็นครูใส่บทบาทติวเตอร์ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ สิ่งที่เราต้องทำ

      เตรียมความพร้อม ดูแลสีหน้าท่าทาง อุปกรณ์การเรียนในห้องเรียนหากนักเรียนคนใดยังวางเป้ไม่เปิดนำอุปกรณ์ต่างๆ วางบนโต๊ะ ครูนกยังไม่สามารถเปิดการสอนได้  หากใครมีสีหน้าสีตาบวมช้ำ (แบบผ่านความระทม) ก็ต้องหาทางถามสาระทุกข์สุกดิบให้ได้ก่อน ซึ่งติวเตอร์เป็นต่อจากเราคือ เด็กเตรียมความพร้อมตนเองก่อนเข้าพบติวเตอร์ 

 


      ช่วงสอนเราจะเน้นกระบวนการช่วงหลังครูนกไม่ค่อยจะวางปลาบนจานให้เด็กตักรับประทานอย่างสบายใจ ต้องยุ่งยากนิดหน่อยกับการรู้จักเครื่องมือจับปลา แม้ใช้เวลาแต่หวังว่าวันข้างหน้าไม่มีเราเขาก็อยู่ได้  ช่วงสอนๆ อาจมีสอดแทรกความสนุก แต่ครูแบบเราก็ไม่มีสิทธิ์จะจะนำศัพท์แบบแปลกๆ เข้าห้องเรียนอย่างไม่มีเจตนา  คือ บางครั้งครูนกก็มีการใช้คำพูด มึง  และ กู แต่นั่นคือแบบเจตนาจะต้องสอนเขาด้วยการเดินเรื่องคำด้วยคำนั่น  ติวเตอร์เป็นอิสระจากภาษาทางวิชาการ  บางคนไม่สนใจตัวสะกดด้วยซ้ำ  เรื่องการทดลองทางเคมีเป็นเรื่องที่ทำให้ครูนกต้องเขียนบล็อกนี้คือ เนื้อหาที่ติวเตอร์สอนคือ การทำปฏิกิริยาของโซเดียมกับน้ำ แล้วการนำเสนอประมาณว่า ได้ทดลองกันหรือเปล่า (เด็กๆตอบว่าทดลอง)  พี่ติวเตอร์ก็ทำให้เด็กหัวเราะอารมณ์ขันได้ว่า ครูเคมีประหยัดมากให้ก้อนโซเดียมเล็กเท่าขี้แมลงวันแล้วใส่น้ำเป็นกะลามังแล้วจะเห็นอะไร  ต้องก้อนใหญ่ๆ  จริงๆแล้วการทำแบบ large scale ก็ดีนะผลการทดลองชัดเจนดี แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องสถานที่  อุปกรณ์ป้องกัน และจำนวนสมาชิกต่อห้องไม่เอื้อให้ครูนกทำแบบนี้ ขอใช้หลักคิดว่า ลูกเขาอยู่ในมือเรา...ในมือลูกเขามีหลอดทดลองที่อาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กๆ ที่ยังขาดประสบการณ์ได้ ครูนกเลยขอเป็น small scale เพราะถือว่าปลอดภัยได้กระบวนการ วันหนึ่งข้างหน้ามวลประสบการณ์เขาอาจจะขยายไปตามวัยและสถานที่แห่งการเรียนรู้


       สิ่งที่ครูเราต้องทำคือการประเมินทั้งช่วงการสอน หลังสอนทั้งวิชาการ คุณธรรมและจริยธรรม  แต่พี่ติวเตอร์ไม่ต้องทำ
      สรุปครูกับติวเตอร์มีจุดร่วมกันคือ ให้เด็กๆเข้าใจเนื้อหาให้มากที่สุด แต่กระบวนการของเราต่างกัน หากถามย้อนกลับว่า แล้วติวเตอร์เหล่านั้นเป็นครูได้หรือไม่ ได้ค่ะ  สำหรับตอนนี้ต้องบอกว่าเราต่างก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองเพื่อให้เด็กๆ ถึงฝั่งฝันกันต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ครูกับติวเตอร์
หมายเลขบันทึก: 437417เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2011 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ชอบบันทึกของครูนกเรื่องนี้มาก เคยถามเหมือนกัน แล้วตัวเองเป็นติวเตอร์ได้มั้ยล่ะ? ตอบว่าง่ายจะตายไป

(ความคิดเห็นแรก ระบบแสดงไม่ครบ) ใจความว่า

ชอบบันทึกของครูนกเรื่องนี้มาก เคยถามเหมือนกัน แล้วตัวเองเป็นติวเตอร์ได้มั้ย? ง่ายจะตายไป แต่..  ขอบคุณข้อคิดเห็นดีๆนี้ครับ สบายดีนะครับอาจารย์

สวัสดีค่ะ อาจารย์ธนิตย์

ครูนกยังจำได้เกี่ยวกับประเด็นที่อาจารย์เคยเขียนไว้...ในโรงเรียนต้อวมีครูค่ะ...ส่วนติวเตอร์ควรอยู่ในแหล่งเรียนรู้อื่นๆ แต่ครูนกไม่มั่นใจนะว่า การที่สอนให้เด็กมีกลเม็ดเคล็ดลับมองอะไรทะลุผ่านง่ายๆ จะเป็นผลเสียในระยะยาวหรือเปล่าทำอะไรต้องมีพื้นฐาน...ครูนกเชื่อมั่นในพื้นฐาน ส่วนเทคนิคลีลา..เป็นเรื่องพรแสวงกันได้

ขอบคุณค่ะ..พี่มีความเชื่อมั่นใน ครูนก ค่ะ..

ผมเชื่อว่าโลกในอนาคต "ติวเตอร์" จะเยอะขึ้นมากและมาในหลากหลายรูปแบบ ไม่ใช่เฉพาะเป็นคนอย่างเดียวครับ ตอนนี้มีการทดลองคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ช่วยสอนที่ฉลาดขึ้นมากสามารถสื่อสารโต้ตอบไปกับผู้เรียนได้ไม่ต่างกับคนจริงๆ

แต่ "ครู" จะยังเหมือนเดิมครับ

มาดูการติวแบบให้ได้เนื้อหาให้มากที่สุด

ทำกันอย่างไรครับผม

ตามที่คิดไว้เราเป็นติวเตอร์ไม่ได้ จากเหตุผลที่กล่าวไว้ คือ เด็กไม่ตั้งใจประการแรก

  •  เข้าใจและรู้ซึ้งถึงสิ่งที่ครูนกเขียน
  •  ครูมี "กรอบ" มากมายในหัวใจ  ที่ต้องนำมาใช้กับลูกศิษย์
  •  "ดี"  ควรมาก่อน  "เก่ง"

สวัสดีค่ะ พี่ใหญ่

ขอบคุณสำหรับแรงใจต่อครูค่ะ...

ครูนกสู้ไม่ถอยอยู่แล้วค่ะ...เรื่องสอนๆ นะค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ธวัชชัย

ขอบคุณค่ะที่มาเติมเต็มทิศทางในอนาคต ห้องเรียนเสมือน ครูเสมือน...มีดีหรือไม่อย่างไร ครูนกก็มองเป็นเหรียญต้องมีสองด้าน อยู่ที่การบริหารจัดการให้เป็นระบบ อย่างบางประเทศก็มีติวเตอร์แต่แยกและเป็นกิจลักษณะว่าในบ้านเรา จุดที่เป็นปัญหาคือ ครูบางคนสวมบทบาท 2 บทคือเป็นครู และเป็นติวเตอร์ด้วยหากบริหารจัดการได้ก็จะไม่ใช่เรื่องปัญญหา ต่างก็ทำหน้าที่กันไป และจะยินดีหากถ้าติวเตอร์ทำหน้าที่ครูได้ด้วย ครูนกมองว่า การสอนคนที่ยากคือสอนทักษะชีวิต ซึ่งเรื่องนี้คนที่หน้าที่ได้ดีคือ ครู

สวัสดีค่ะ คุณปภิณวิช

จริงๆ ครูนกก็เป็นคนที่สอนติวนะ...แต่ก็ยังใช้ความเป็นครูมากกว่าติวเตอร์ สอนเขาทุกเรื่องที่เท่าจังหวะจะพาไป

เรียน ท่านอาจารย์โสภณ

ติวแบบไหนได้เนื้อหามากที่สุด ถ้าตอบแบบเด็กๆ...ติวแบบไม่หยุดเลยนะค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะพี่อัมพร...ดีต้องนำเก่งนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท